รอยตัดที่ปกแผ่นเสียง (Cut-out)
รอยตัดมุม, รอยเจาะ หรือรอยบาก ที่ปกแผ่นเสียง
ทำขึ้นโดยบริษัทแผ่นเสียงในสมัยนั้น
เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในสำหรับ 2 กรณีคือ
- ใช้กับแผ่นเสียงที่ผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด
บริษัทแผ่นเสียงมักจะขายแผ่นเสียงเหล่านี้ให้กับร้านค้าปลีกในราคาถูก แต่ไม่รับคืน
โดยจะทำเครื่องหมายไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร้านค้าปลีกส่งคืนมาได้
และวิธีที่ง่ายทีสุดก็คือการเจาะรู, ตัดมุม หรือการบาก ที่ปกแผ่นเสียง - สำหรับการโฆษณา (Promo) เพื่อส่งแผ่นเสียงให้กับสถานีวิทยุและ DJ ต่าง และห้ามนำไปวางจำหน่าย
**ส่วนใหญ่แผ่นพวกนี้จะเป็น 1St Press (Original Issue)
เสียงรบกวนจากแผ่นเสียง
Photo of a record groove magnified 1,000 times by an electron microscope.
สภาพของแผ่นเสียงตามเกรดทีให้ไว้
บ่งบอกถึงเสียงรบกวนที่เกิดจากรอยขีดข่วน (Scratch) เท่านั้น
ไม่ได้รวมถึงเสียงรบกวนจากสิ่งสกปรกที่อาจจะยังมีตกค้าง
อยู่ในร่องเสียง ซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
ถึงแม้ว่าแผ่นทุกแผ่นจะผ่านการทำความสะอาดอย่างดี
จากทางร้านแล้วก็ตาม
เพราะการทำความสะอาดร่องแผ่นเสียงมีความยากง่ายแตกต่างกัน อันเนื่องมาจาก
ความหลากหลายชนิดของสิ่งสกปรก ซึ่งอาจเป็นผง, คราบของสารอินทรีย์ เชื้อรา หรืออาจเป็นฝุ่นผงของสารอนินทรีย์ต่างๆ สารเหล่านี้ละลายหรือจะหลุดออกด้วยตัวทำละลายที่ต่างชนิดกัน นั่นหมายถึงจะต้องใช้ชนิดของน้ำยาล้างแผ่นที่แตกต่างกันด้วย จึงจะทำให้สิ่งสกปรกแต่ละชนิดหลุดออกมาได้ การใช้น้ำยาล้างเพียงชนิดเดียวจึงไม่อาจขจัดสิ่งสกปรกออกจากแผ่นเสียงได้ สมบูรณ์
อายุและการเก็บรักษาแผ่นเสียง ส่วนใหญ่แผ่นเสียงที่ทางร้านนำมาจำหน่ายจะผลิตขึ้นในช่วงปี 70s หรืออาจเก่ากว่านั้น นั่นหมายถึงส่วนใหญ่แผ่นเสียงจะมีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป การเก็บรักษาแผ่นเสียงในสภาพที่แตกต่างกันทั้ง อุณภูมิ ความชื้น ฝุ่นละออง รวมกับคราบสิ่งสกปรกในร่องเสียงที่สะสมจากการใช้งานแผ่น สิ่งเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ สิบปีก็จะจับแน่นฝังตัวลงในร่องแผ่นเสียง การทำความสะอาดจึงต้องใช้น้ำยา วิธีการ และเวลาในการล้างที่แตกต่างกัน บางแผ่นอาจต้องใช้เครื่องล้างแบบ high-end และต้องใช้เวลาล้างนานมาก บางแผ่นอาจต้องใช้กาวสำหรับทำความสะอาดแผ่นเสียงเพื่อช่วยดึงสิ่งสกปรกเหล่า นี้ออก
ด้วยปัจจัยที่หลากหลายตามข้างต้น ทางร้านจึงไม่สามารถรับรองผลเสียงรบกวน ที่เกิดจากสิ่งสกปรกที่ยังตกค้างในร่องแผ่นเสียงได้ แต่เรารับรองว่าเสียงรบกวนจากรอยขีดข่วนจะเป็นตามเกรดของสภาพแผ่นที่ลงไว้ และแผ่นทุกแผ่นผ่านการทำความสะอาดเป็นอย่างดีแล้ว
สำหรับท่านที่ต้องการผลในการรับฟังที่ดียิ่งขึ้น ลดเสียงรบกวนให้น้อยลงอีก ก็ควรทำความสะอาดซำ้อีกครั้ง ด้วยน้ำยาพิเศษร่วมกับเครื่องทำความสะอาดแผ่นแบบ high-end
น้ำยาล้างแผ่นเสียง
- The Disc Doctors Miracle Record Cleaner
- Nitty Gritty cleaning fluid
- VPI cleaning fluid (without alcohol Type)
- Spin Clean record cleaning fluid
- Mobile Fidelity Sound Lab Super Deep Cleaner
- Mobile Fidelity Sound Lab One Record Cleaning Fluid
- Mobile Fidelity Sound Lab Super Record Wash
- Mobile Fidelity Sound Lab Plus Enzyme Cleaner
- Mobile Fidelity Sound Lab Pure Record Rinse
เครื่องล้างแผ่นเสียง
- Keith Monks
- Loricraft
- Sota
- Clear Audio
- Nittygritty
- VPI
น้ำหนักของแผ่นเสียง และส่วนผสมทางเคมี
- แผ่นเสียงที่ผลิตขึ้นในช่วงปี 1950 ถึง 1960 จะมีนำ้หนัก 150 ถึง 160 แกรม
- แผ่นเสียงที่ผลิตขึ้นในช่วงปี 1970 ถึง 1980 จะมีนำ้หนัก 110 ถึง 130 แกรม
แต่บางแผ่นที่ผลิตขึ้นในปี 1970 ก็มีน้ำหนักเพียง 100 แกรม เช่นแผ่นของ "RCA’s DynaflexTM series"
ในปัจจุบันผู้ผลิตเริ่มหันกลับมาผลิตแผ่นเสียงที่มีน้ำหนักมากอีก คือ 150 และ 180 แกรม บางแผ่นสูงถึง 200 แกรม
ส่วนผสมทางเคมีของแผ่นเสียงก็จะแตกต่างกันไป โดยทั่วไปจะไม่ใช่ Vinyl บริสุทธิ์ แต่จะถูกผสมด้วยสารเคมีบางอย่างเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
การเก็บรักษาแผ่นเสียง
ควรเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 24 องศาเซลเซียส ไม่ชื้น วางแผ่นเสียงในแนวตั้งตรงและเบียดกันเพื่อให้มีแรงบีบระหว่างแผ่นเล็กน้อยและสม่ำเสมอ
แสงแดด อุณหภูมิสูง และการวางที่ไม่ถูกต้องจะทำให้แผ่นเสียงงอได้
สัญลักษณ์ ℗ บน label ของแผ่นเสียงคือ ?
เคยสงสัยมั๊ยครับว่า สัญลักษณ์ตัว P แล้วมีวงกลมล้อมรอบ บน label ของแผ่นเสียงหมายถึงอะไร
℗ คือสัญลักษณ์ลิขสิทธิ์การบันทึกเสียง (Sound recording copyright symbol) เริ่มมีใช้ในอเมริกา หลังปี 1971
ส่วนเลขที่ตามมาก็คือปีที่จดลิขสิทธิ์การบันทึกเสียง และส่วนมากก็คือปีที่เพลงออกเผยแพร่วางจำหน่ายครั้งแรกด้วยครับ
ลองดูตัวอย่าง JJ Cale / Troubadour ℗1976
Album นี้บันทึกเสียงและวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1976
Label สีเหลืองคือแผ่น 1St Press (1976)
Label สีส้ม+รูปจันทร์เสี้ยวคือแผ่นปี 1978
แต่ทั้งคู่มี ℗1976 เหมือนกัน
RIAA EQ Curve ความลับที่ซ่อนอยู่ในแผ่นเสียง
RIAA EQ Curve (vinyl-disc equalization characteristic curve) เริ่มนำมาใช้เป็นมาตรฐานในปี 1950s
เพื่อแก้ปัญหา Signal To Noise Ratio ในย่านความถี่สูง ที่มีค่าต่ำ อันเนื่องมาจาก Amplitude ของร่องเสียงในย่านความถี่สูง ลดลง (รอยหยักของร่องเสียงความถี่สูงจะเล็กลง)
ที่มาของปัญหาก็คือหัวตัดแผ่นเป็นอุปกรณ์ประเภท Velocity Transducers คือเป็นตัวเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า (Voltage) เป็นความเร็ว
ความเร็วของหัวตัดจะขึ้นอยู่กับ Voltage, และ Voltage ก็ขึ้นอยู่กับ ความดังของสัญญาณเสียง
ถ้าป้อนสัญญาณเสียงที่ดังเท่ากันตลอดย่านความถี่ (คือตั้งแต่เสียงสูงจนถึงเสียงตำ่มีความดังเท่ากัน)
ในย่านความถี่ 10kHz เราจะได้ร่องเสียงที่มี Amplitude ลงลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับย่านความถี่ 5kHz
(ตามภาพประกอบ)
ทั้งนี้เพราะหัวตัดมีความเร็วคงที่
(เพื่อให้ได้รอบการสั่นไป- กลับมากขึ้น ก็จะต้องลดระยะทางลง นั่นคือ Amplitude ถูกลดลงนั่นเอง)
เพื่อแก้ปัญหาจึงต้องมีการเพิ่ม Voltage ให้กับสัญญาณเสียงในย่านความถี่สูง เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับหัวตัด
โดยใช้ RIAA EQ curve มาปรับแต่งสัญญาณก่อนป้อนเข้าเครื่องตัดแผ่น
ในทางกลับกัน ก็ใช้ RIAA EQ curve นี้ลด Voltage ในย่านความถี่ต่ำลง เพื่อลด Amplitude ของร่องเสียงไม่ให้กินพื้นที่บนแผ่นเสียงมากเกินไปอีกด้วย
เมื่อเราเล่นแผ่นเสียง หัวเข็มเองก็เป็นอุปกรณ์ประเภท Velocity Transducers เช่นเดียวกัน แต่ทำงานในทางย้อนกลับกัน กับหัวตัด คือจะเปลี่ยนความเร็วเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Voltage)
และเพื่อให้ได้สัญญาณเสียงกลับมาเหมือนเดิม ก็จะต้องถอดค่า RIAA EQ curve ออก โดยการป้อน replay equalization curve ให้กับสัญญาณที่หัวเข็มอ่านมาได้
โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ Phono Stage นั่นเองครับ
อ้างอิงจาก https://www.stereophile.com/.../cut_and_thrust.../index.html